ข้อต่อท่อ PVC (Polyvinyl chloride) เป็นอุปกรณ์เสริมในงานระบบประปา ที่นิยมนำมาใช้ข้อต่อ PVC เชื่อมต่อท่อ PVC เข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดการกระจายน้ำในทิศทางที่ถูกต้อง โดยการเชื่อมต่อนี้จะทำให้ท่อ PVC ที่เป็นเส้นเดียวกันเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบังคับทิศทางของน้ำให้ไหลไปยังบริเวณที่ต้องการ
ทำความรู้จักกับ ข้อต่อ PVC
งานท่อ PVC แต่ละอย่างต้องใช้ข้อต่อ PVC หลากหลายรูปแบบเพื่อให้เหมาะกับการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นข้อต่อตรง ข้องอต่างๆ สามตาฉาก สามตาสี่ทาง ข้องอสามทาง ข้อต่อสวมสายยาง ข้อต่อเกลียวใน ข้องอบาง เป็นต้น โดยอุปกรณ์ PVC ส่วนมากจะมีราคาถูกและน้ำหนักเบาซึ่งเหมาะสำหรับการใช้งานหลายแบบ
ข้อดีของการใช้ข้อต่อ PVC
- ราคาที่ย่อมเยา
- แข็งแรงทนทาน
- ทนแรงดันน้ำ ป้องกันการรั่วซึมของน้ำ
- มีอายุการใช้งานหลายสิบปี
- มีน้ำหนักเบาและสามารถจัดเก็บได้ง่าย
ชนิดและวิธีใช้อุปกรณ์ข้อต่อPVC
1.ข้อต่อตรง
เป็นอุปกรณ์ข้อต่อที่นิยมใช้งาน ทั้งการประปา การเกษตร หรืองาน DIY ใช้ในการต่อข้อต่อท่อสองเส้นทางตรงเข้าด้วยกัน ในขนาดที่เท่ากัน
2.ข้องอ45 – ข้องอฉาก
เป็นอุปกรณ์ข้อต่อที่นิยมรองลงมาจากข้อต่อ ใช้เชื่อมเข้ากับท่อต่อโดยข้อต่อในองศาที่เราเป็นกำหนดไว้ หากนำท่อทั้งสี่เส้นมาประกอบเข้ากับข้อต่อ ก็สามารถสร้างโครงสร้างท่อ PVC สี่เหลี่ยมได้ค่ะ มีทั้งงอ 90 และ งอ 45
3.ข้อต่อสามทางฉาก
ข้อต่อสามทางฉากใช้เชื่อมท่อได้ถึงสามทางในตัวเดียวกัน นิยมใช้งานได้หลากหลายประเภท ทั้งงานประปา งานเกษตร หรือระบบประปาที่ซับซ้อนก็ได้
4. ข้องอสามทาง – สามตาสี่ทาง
ข้องอสามทาง
ใช้ต่อระบบท่อไปได้ในหลายทิศทาง เราสามารถใช้ท่อPVC จำนวนสามถึงสี่เส้นเพื่อการสร้างงานDIY ในรูปแบบสามมิติ เป็นข้อต่อที่ค่อนข้างหาซื้อยากในร้านวัสดุก่อสร้างต่างๆ หรือใช้งานจำพวกโครงสร้างสามมิติใหญ่ๆ
ข้องอสี่ทาง
สามารถต่อระบบท่อได้หลายทิศ จึงเหมาะกับงาน DIY ที่มีระบบโครงสร้างขนาดใหญ่ ทางข้อต่อชนิดนี้นั้นค่อนข้างหาได้ยากในร้านวัสดุก่อสร้างต่าง ๆ แต่สามารถติดต่อซื้อจากพนักงานขายจากทางเราได้เลยค่ะ
5. สี่ตา (ข้อต่อสี่ทาง กากบาท)
ข้อต่อสี่ตาหรือสี่ทาง เป็นอุปกรณ์ที่เหมาะสำหรับงาน DIY งานเกษตร และงานประปาที่ต้องใช้ต่อท่อไปในหลายทิศทาง
6. บอลวาล์วสวม บอลวาล์วเกลียว
บอลวาล์วพีวีซีมาในรูปแบบทั้งสวมและเกลียวซึ่งทั้งสองแบบมีไว้ใช้งานที่ต้องใช้การเปิดปิดของน้ำเช่น การเกษตร งานประปา งานบ้านและสวน สระน้ำ ห้องแลปวิจัย ศูนย์วิจัยต่างๆ สถานที่บำบัดน้ำ หรืออุตสาหกรรมเคมีต่างๆ
7. หัวอุด หรือ ฝาครอบ
หัวอุดเป็นอุปกรณ์ที่ไว้ใช้กับท่อเพื่อปิดระบบน้ำไม่ให้น้ำรั่วหรือไหลออก นิยมใช้ฝาครอบหรือหัวอุดเพื่อปิดท่อเพื่อป้องกันไม่ให้ท่อไปขุดพื้นเป็นรอยหรือกันสิ่งแปลกปลอมเข้ามาภายหลัง
8. ข้อต่อเกลียวใน-ข้องอเกลียวใน-ข้อต่อเกลียวนอก-ข้องอเกลียวนอก
ใช้สำหรับงานพวกงานประปาในบ้านและงานสุขภัณฑ์ เช่นต่อก๊อกน้ำประปาหรือต่อสายชำระ การมีเกลียวทำให้น้ำไหลซึมผ่านยากขึ้น แต่เราก็ควรจะใช้เทปพันเกลียวเพื่อเพิ่มความแน่นอนในการอุดร่อง นอกจากนี้แล้วเรายังสามารถปิดข้อต่อเกลียวได้ด้วยพวกฝาครอบมีเกลียวเช่น ฝาครอบเกลียวในและปลั๊กอุดเกลียวนอกอีกด้วย
9. ข้อต่อ ม.ม.-ข้อต่อ ผ.ผ.-ข้อต่อ ผ.ม.-ข้องอ ม.ม.-ข้องอ ผ.ผ.-ข้องอ ผ.ม.
ข้อต่อ ผ.ม. และข้องอ ผ.ม.คือข้อต่อกับข้องอที่มีทั้งเกลียวในและเกลียวนอกอยู่ในตัว
คำว่า ผ.ม. ใช้เป็นชื่อย่อเรียก “ลักษณะเกลียว” โดย ผ หมายถึง ตัวผู้ และ ม หมายถึง ตัวเมีย
โดยปกติข้อต่อและข้องอจะต้องต่อกับท่อก่อนถึงจะเชื่อมกับข้อต่อหรืออุปกรณ์ตัวอื่นๆได้ แต่สำหรับข้อต่อเกลียวในและเกลียวนอก เราสามารถเชื่อมข้อต่อและข้องอต่างๆเข้าด้วยกันได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้ท่อหลายเส้น ทำให้สินค้าอุปกรณ์มีเกลียวเหมาะสำหรับงานประปาและงานสุขภัณฑ์ต่างๆ
10. สามตาเกลียวใน-สามตาเกลียวนอก
สามตาเกลียวในและสามตาเกลียวนอกเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่นิยมไว้ใช้ต่อท่อเข้ากับอุปกรณ์เกลียวต่างๆชนิดอื่น โดยสามารถต่อระบบท่อเราได้หลากหลายมากขึ้น หากเราเลือกใช้อุปกรณ์สุขภัณฑ์จำพวกสามตาเกลียวให้ถูกจังหวะเราก็จะสามารถประหยัดเวลาสร้างระบบท่อน้ำในบ้านและค่าใช้จ่ายในการทำระบบน้ำได้บ้างพอสมควร
11. สามตา ผ.ม.
สามตา ผ.ม. เป็นอุปกรณ์สามตาที่ต่อได้ทั้งเกลียวในและเกลียวนอกซึ่งเหมาะสำหรับงานประปาและงานสุขภัณฑ์เฉพาะทางเป็นอย่างมาก
สามตา ผ.ม. มีหัวเกลียวนอกสองข้างเป็นมุมฉาก 90 องศา แถมยังมีหัวเกลียวในหนึ่งข้างซึ่งจะทำให้เหมาะกับการสวมก๊อกต่างๆอีกด้วย
ข้อต่อสามตา ผ.ม. เป็นข้อต่อเฉพาะทางอย่างมาก หากเราใช้ให้ถูกวิธีก็จะประหยัดเวลาในการทำระบบท่อประปาและประหยัดงบในการเลือกใช้ข้อต่ออีกด้วย
12. ท่อสั้น (ท่อสั้นเกลียวใน-ท่อสั้นเกลียวนอก)
ท่อสั้นคืออุปกรณ์ที่ใช้คู่กับข้อต่อตัวอื่น เช่นหากเราต้องการที่จะต่อข้อต่อตรงเข้ากับข้อต่อเกลียวใน เราจำเป็นต้องใช้ท่อ PVC เพื่อเป็นตัวกลางในการเชื่อมอุปกรณ์ทั้งสองแบบ ช่วยให้ไม่เสียเวลาในการตัดท่อเป็นท่อนเล็กๆเพื่อที่จะแทรกเข้าไประหว่างข้อต่อ
13. ฝาครอบเกลียวใน-ปลั๊กอุดเกลียวนอก
ฝาครอบเกลียวในและปลั๊กอุดเกลียวนอกนั้น มีไว้ปิดข้อต่อข้องอเกลียวในและข้อต่อเกลียวนอก เป็นอุปกรณ์ที่เหมาะสำหรับงานประปาและสุขภัณฑ์ เพื่อนำมาใช้ในการปิดไม่ให้น้ำนั้นรั่วไหลหรือซึมออกมาจากท่อนั่นเอง
14. ข้อต่อสวมสายยาง-ข้องอสวมสายยาง-สวมสายยางสองข้าง
ข้อต่อสวมสายยางและข้องอสวมสายยางเป็นอุปกรณ์ที่เหมาะสำหรับงานบ้าน งานสวน และงานบ่อปลาต่าง ๆ ที่ต้องใช้น้ำจำนวนหนึ่ง ใช้สวมสายยางชนิดต่างๆได้ ซึ่งหลายท่านนิยมที่จะใช้ต่อท่อPVC เพื่อลำเลียงน้ำไปรดน้ำสวนหรือต้นไม้ต่างๆโดยเฉพาะงานเกษตร
15. ข้อต่อบาง-ข้องอบาง-สามตาบาง
ข้อต่อบาง ข้องอบาง และ สามตาบาง เป็นอุปกรณ์ที่นิยมไว้ใช้สำหรับงานก่อสร้างด้วยท่อชนิดใหญ่เช่นขนาดเกินสองนิ้วขึ้นไป มีน้ำหนักเบาและราคาถูกซึ่งหากเทียบกับอุปกรณ์ขนาดปกติในขนาดเดียวกันแล้วเราสามารถประหยัดงบไปได้เยอะเลย ไม่เหมาะสำหรับงานประปาที่ใช้แรงดันสูง แต่อุปกรณ์แบบหนาไซส์ใหญ่ก็ค่อนข้างที่หาซื้อยากทีเดียว
16. กิ๊บจับท่อ-คลิ๊ปก้ามปู
ใช้สำหรับการยึดท่อ กิ๊บจับท่อจะมีรูตะปูที่สามารถใช้ไว้ยึดตัวท่อ PVC ไว้กับกำแพงหรือเพดานนิยมใช้ในขนาด 4 หุน และ 6 หุน โดยคลิ๊ปก้ามปูการใช้งานก็จะคล้ายๆกิ๊บจับท่อ แต่คลิ๊ปก้ามปูจะมาในขนาดที่เล็กกว่า (ใหญ่สุดแค่ 6หุน) ส่วนมากคลิ๊ปก้ามปูจะมีไว้ตั้งท่อให้อยู่กับพื้น ไม่ให้กลิ้งไปไหน
17. อุปกรณ์เชื่อมและทำมือ
อุปกรณ์ที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ทั้งหมดจะถูกผลิตมาจากเครื่องฉีดพีวีซี ซึ่งจะสามารถผลิตสินค้ามาได้ในจำนวนมาก แต่สำหรับอุปกรณ์บางชนิดที่ลูกค้าไม่ได้ต้องการใช้เยอะ เช่น ข้อต่อข้องอขนาด 10″ 12″ สิ่งที่คนนิยมทำก็คือนำท่อพีวีซีไซส์ใหญ่มาตัดและเชื่อมเข้าด้วยกัน ซึ่งสามารถผลิตสินค้าออกมาได้ในปริมาณที่ลูกค้าต้องการ แต่จะควบคุมคุณภาพได้ยากและไม่ใช่ทุกร้านที่จะเก็บอุปกรณ์พวกนี้ไว้ขาย พูดง่ายๆก็คือมันหายาก แล้วก็ขายยากด้วย
วิธีต่อท่อเข้ากับข้อต่อท่อ PVC
ข้อต่อหลากชนิดที่กล่าวไปนั้นสามารถนำมาใช้ประกอบเป็นสินค้าได้หลากหลายรูปแบบ เช่นใน งานประปา งานบ้านและสวน งานสุขภัณฑ์ งานเกษตร หรืองานDIY โดยการเชื่อมต่อข้อท่อเข้ากับท่อ PVC จำเป็นต้องใช้รวมกับน้ำยาประสารท่อหรือเทปพันเกลียว มีให้เลือกใช้งานหลากหลายเพื่อให้เหมาะกับการใช้งาน ดังนี้
น้ำยาประสานท่อ มี 2 ชนิด ให้เลือกใช้งาน
1.น้ำยาประสานท่อ ชนิดเขมข้น (Solvent Cement High Pressure)
เป็นน้ำยาชนิดเข้มข้นสูง จึงมีความหนืดสูง ทำให้ตัวน้ำยานั้น ไม่ไหลย้อยออกมา ระหว่างใช้งาน เหมาะสำหรับใช้งาน กับท่อคุณภาพสูง เช่น งานอาคารสูง งานสระว่ายน้ำ น้ำยาประสานท่อนั้น มีคุณสมบัติในการละลายท่อ และข้อต่อ ให้เป็นเนื้อเดียวกัน ทำให้เชื่อมต่อกันได้อย่างง่ายดาย
2.น้ำยาประสานท่อ ชนิดใส (Solvent Cement Standard)
เป็นน้ำยาชนิดธรรมดา เพราะความเข้มข้นที่น้อยกว่าชนิดเข้มข้น จริงมีความหนืดน้อยกว่า น้ำยามีเนื้อใส ใช้งานได้ง่าย เหมาะสำหรับงานที่ใช้ภายในบ้านเรือน และอาคารทั่วไป สามารถใช้งานปรับแต่งท่อได้
ทายังไง ให้ท่อยึดติดทนนาน?
การทากาว หรือ ทาน้ำยาประสานท่อ ให้ยึดติดทนนั้น ไม่ใช่เรื่องยากเลยค่ะ เพียงแค่เราเลือกใช้ น้ำยาประสานท่อ ให้เหมาะสมกับงาน ที่เรากำลังทำอยู่ ให้เหมาะสม เพื่อป้องกันความผิดพลาด ในการใช้งาน ไม่ให้ระบบประปานั้น ทำงานผิดปกติ หรือน้ำประปา มีสิ่งสกปรกปนเปื้อนมา และเราควรที่จะ อ่านฉลาก หรืออ่านวิธีใช้งาน ด้านข้างกระป๋อง
เพราะอะไร ทำไมใช้น้ำยาประสานท่อแล้ว ยึดท่อไม่ได้?
- ทาน้ำยาประสานท่อแล้ว ไม่รอให้แห้งก่อน ควรอ่านฉลากข้าง ๆ ว่าควรรอกี่นาที ให้ถีถ้วน
- น้ำยาประสานท่อที่ใช้นั้น ไม่ได้คุณภาพ หรือน้ำยาประสานตัวนั้น หมดอายุแล้ว ควรตรวจสอบน้ำยาประสานท่อ ก่อนใช้งานจริง ในทุก ๆ ครั้งที่จะใช้งาน
- ทาน้ำยาประสานท่อไม่ทั่วถึง การทาน้ำประสานที่ได้ผลดีที่สุดคือ ทาทั้งด้านในของข้อต่อท่อ และบนตัวท่อที่ต้องการเชื่อมต่อให้ทั่ว
- ท่อ หรืออุปกรณ์ข้อต่อ นั้นสกปรก ก่อนที่จะทำการเชื่อท่อเข้ากับข้อต่อ ควรทำความสะอาดทั้งท่อ และข้อต่อ ให้สะอาดเสียก่อน เพราะถ้าเกิดไม่ทำความสะอาดเมื่อเชื่อมท่อไปแล้ว อาจจะทำให้น้ำประปานั้นสกปรกได้
ข้อควรระวังที่สำคัญในการใช้น้ำยาประสานท่อ
- โปรดอ่านวิธีใช้ให้อย่างถีถ้วน
- ควรสวมถุงมือ ผ้าปิดจมูก และแว่นตา ทุก ๆ ครั้งที่ใช้งาน
- ระวังอย่าสูดดม อย่าให้ถูกผิวหรือเข้าตา
- หาได้รับอันตราย ควรรีบพบแพทย์ทันที
- ใช้ประสานท่อพีวีซี และข้อต่อพีวีซี ชนิดแข็งเท่านั้น
- ใช้ร่วมกับอุปกรณ์มารตฐานเท่านั้น
- น้ำยาที่บรรจุ นำไปใช้งานได้ทันที โดยไม่ต้องผสมสารใดอื่น ๆ เพิ่มเติม
- ปิดฝาให้สนิททุก ๆ ครั้ง เมื่อใช้งานเสร็จ
- ควรเก็บในที่ร่ม มีอากาศถ่ายเท ห่างจากเปลวไฟ และควรเก็บให้พ้นมือเด็ก
- ห้ามนำภาชนะไปเผา หรือทำลายร่วมกับขยะชนิดอื่น ๆ
คุณสมบัติของ น้ำยาประสานท่อ
- เหมาะสำหรับงานรับแรงดันสูง สามารถรับแรงดันสูงถึง 16 บาร์ฅ
- เหมาะสำหรับงานซ่อมแซมเร่งด่วน
- มีประสิทธิภาพในการละลายท่อ และข้อต่อให้เป็นเนื้อเดียวกัน
- มาตรฐานคุณภาพระดับสากล
ถอดท่อยังไง ถ้าติดกาวไปแล้ว?
ทำยังไง ถ้าจะถอดท่อกับ ข้อต่อออกจากกัน ทั้ง ๆ ที่ติดกาว ( น้ำยาประสาน ) ไปแล้ว? เรามีวิธีง่าย ๆ ที่สามรถทำได้ด้วยตัวเองค่ะ
- ใช้ความร้อน มาลนท่อ ให้ท่อนิ่ม แล้วใช้คีมดึงท่อออก
- ใช้น้ำยาประสานท่อ ทาด้านในท่อให้ทั่ว แล้วจุดไฟเผา ให้ท่อนิ่ม แล้วใช้คีมดึงท่อออก
- ใช้น้ำเดือด ในการต้ม ให้ท่อนิ่ม แล้วใช้คีมดึงท่อออก
สามารถอ่านวิธีถอดท่อเพิ่มเติม ได้ที่ : วิธีถอดท่อ
ขั้นตอนการต่อท่อพีวีซีเข้ากับข้อต่อ ด้วยน้ำยาประสานท่อ (กาวทาท่อ)
- ตัดท่อให้ได้ฉากโดยใช้เลื่อยตัดโลหะหรือกรรไกรตัดท่อ
- ใช้ตะไบละเอียดลบมุมปลายท่อโดยรอบให้มีความลาดเอียงประมาณ15องศา
- วัดระยะความลึกในการสวมท่อเข้ากับข้อต่อ
- ใช้น้ำยาทำความสะอาดท่อพีวีซี เช็ดทำความสะอาดภายในข้อต่อและปลายท่อให้ปราศจากครบน้ำมัน ฝุ่นและความชื้น
- ทาน้ำยาประสานท่อพีวีซี ที่ผิวด้านในข้อต่อให้ทั่วก่อนแล้วจึงทาผิวด้านนอกของท่อ
- สวมปลายท่อเข้ากับข้อต่อแล้วกดเข้าไปจนถึงเครื่องหมายที่ทำไว้ จากนั้นกดท่อที่ต่อไว้อีก15นาที
- เช็ดน้ำยาประสานท่อพีวีซีที่ล้นออกมา แล้วทิ้งไว้ให้แข็งตัว ประมาณ10นาทีก่อนเริ่มใช้งาน
สรุป
เราต้องเลือกใช้ท่อให้เหมาะกับการใช้งาน หากคุณคำนวณแรงดันน้ำหรือแรงกดไม่เป็นสามารถใช้วิธีประเมิณแรงดันจากการใช้งานคร่าวๆ เช่นงานภายใน หรือภายนอก เมื่อทราบถึงงานใช้งานก็สามารถเลือกดูท่อได้ตามความเหมาะสม โดยวิธีดูขนาดท่อ PVC ก็ไม่ยากเช่นกัน ดูได้จากตัวเลขที่ปรากฏอยู่บนตัวท่อ ที่จะบอกยี่ห้อ แรงดัน ขนาดและมาตรฐานนั่นเอง ทางร้านเรามีท่อให้เลือกหลากหลายชนิด มีทุกขนาด และคุณภาพชั้น เพื่อเป็นทางเลือกให้คุณลูกค้า
สั่งซื้อได้ที่ไหนบ้าง
ขั้นตอน การสั่งซื้อท่อพีวีซี และข้อต่อท่อพีวีซี
- โทร.063-686-2900 / 083-992-5999 หรือ @ Line : @hdpipethai พร้อมแจ้งความต้องการใช้ข้อต่อตรง ท่อ ขนาด และจำนวนการใช้ พร้อมสถานที่จัดส่ง
- พนักงานขายเสนอราคา ให้คำปรึกษาการใช้งาน พร้อมลูกค้าสามารถชำระเงิน เข้าบัญชีบริษัทฯ
- ลูกค้ารอรับสินค้า เพื่อใช้งานตามเวลาที่กำหนด
สามารถ คลิกลงตะกร้า จากเว็บไซต์ มีจัดจำหน่ายสินค้าอุปกรณ์ก่อสร้าง อุปกรณ์การเกษตร ไม่ว่าจะเป็นท่อ อุปกรณ์ข้อต่อต่างๆ ที่ HD PipeThai เรามีจำหน่าย ครบ จบที่เดียว