วิธีทำโรงเรือนด้วยท่อ PVC
วิธีทำโรงเรือนด้วยท่อ PVC หนึ่งในวิธีที่ช่วยให้เราประหยัดค่าใช่จ่ายมากกว่าโรงเรือนชนิดอื่น ซึ่งหลายคนอาจคิดว่ายุ่งยาก แต่การทำโรงเรือนด้วยท่อPVC กลับทำไม่ยากเลย บ้านแอดมินเองเคยทำโรงเรือนทั้งแบบสำเร็จรูปและแบบ พีวีซี ขอบอกเลยว่าโรงเรือนแบบ พีวีซีให้ผลลัพธ์การปลูกพืชผักน่าพอใจมากกว่าโรงเรือนสำเร็จรูป แต่นั้นก็ไม่ได้บอกว่าโรงเรือนชนิดอื่นจะไม่ดีซ่ะทีเดียวนะทุกคน เพียงแค่โรงเรือนพีวีซีเราสามารถเลือกส่วนหุ้มโรงเรือนได้เอง และวัสดุที่นำมาหุ้มจะรูระบายที่แมลงเข้าไม่ได้ แต่แสงหรือลมพัดผ่านได้ เลยให้ผลผลิตที่ดีกว่านั่นเอง
หัวข้อที่น่าสนใจ
- ขั้นตอนการออกแบบโรงเรือนpvc
- ขั้นตอนการก่อสร้างโรงเรือนpvc
- การเลือกใช้ขนาดท่อในการทำโรงเรือนpvc
- การเลือกใช้ขนาดท่อในการทำโรงเรือนpvc
- ราคาท่อpvcต่อท่อน
ขั้นตอนการออกแบบโรงเรือน
ก่อนการทำโรงเรือนด้วยท่อ PVC เราต้องกำหนดขนาดของโรงเรือน คือ กว้าง x ยาว x สูง โดยโรงเรือนจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 1.ส่วนฐาน, 2.ส่วนโครงสร้างท่อ PVC (โครงสร้างด้านหน้า + โครงสร้างด้านข้าง +โครงสร้างด้านหลัง + โครงสร้างหลังคา) และ 3.ส่วนหุ้มโรงเรือน จากนั้นก็เขียนแบบลงในกระดาษ และเตรียมวัสดุอุกปกรณ์ต่างๆ ให้พร้อมเพื่อนำมาก่อสร้าง
ขั้นตอนการก่อสร้าง
1. การวางฐาน ก่อนการก่อสร้างโรงเรือนเราต้องรู้ก่อนว่า หากฐานก่อสร้างไม่มั่นคง จะทำให้โครงสร้างพังได้ง่าย เพราะท่อ PVC น้ำหนักเบานั่นเอง เราสร้างฐานโดยการนำก้อนอิฐมวลเบาหรืออิฐประสานมาเรียงต่อกันตามขนาดที่ออกแบบ เช่น โรงเรือนขนาด 4X6 เมตร
2. เทพื้นเพื่อยึดเสา PVC กับก้อนอิฐ ขั้นตอนนี้จะเหมือนขั้นตอนการเทปูนเพื่อยึดเสาบ้าน แต่เราจะใช้เสาที่เป็นท่อ PVC ตามขนาดความสูงที่ตัดไว้มาวางลงในช่องของก้อนอิฐ จากนั้นจึงเทปูนลงไปเพื่อยึดท่อ PVC กับก้อนอิฐเพื่อให้ฐานแน่นและมั่นคง ยิ่งใช้เสาที่ถี่มากเท่าไหร่ ความแข็งแรงก็ยิ่งทวีคูณ
3. การต่อหลังคา เราต้องใช้ข้อต่อเพื่อยึดเสาและหลังคาไว้ด้วยกัน โดยใช้กาวทาท่อหรือการยิงสกูรเพื่อการยึดติดที่แน่นขึ้น ส่วนใหญ่จะใช้หลังคาที่ดัดโค้ง 45 องศา หรือใครต้องการความง่าย อาจเป็นหลังคาตรงๆ ไม่ดัดโค้งเลยก็ได้ โดยยึดเสาแต่ละแถวกับหลังคาเข้าด้วยกันให้ครบทุกแถว จากนั้นใช้ท่อพาดไปตามแนวนอน ซึ่งจะช่วยให้หลังคามีความแข็งแรงมากขึ้น ยิ่งใช้ท่อพาดไปตามแนวนอนได้ถี่เท่าไหร่ ยิ่งทำให้โครงสร้างโรงเรือนแข็งแรงขึ้น
4. ผนังด้านข้าง จากนั้นเรามาต่อกันที่ผลังด้านหน้า ด้านหลัง และด้านข้าง โดยเริ่มต่อผนังจากฐานด้านล่างก่อนและต่อขึ้นไปด้านบนเรื่อยๆ ยิ่งเพิ่มความถี่ได้มากเท่าไหร่ ความแข็งแรงก็ยิ่งเพิ่มขึ้น ในขั้นตอนนี้อย่าลืมติดตั้งส่วนของประตูโรงเรือนกันด้วยนะคะ ซึ่งประตูสามารถนำบานพับตัวเล็กมาติดตั้งได้เลย
5.ส่วนหุ้มโรงเรือน ขั้นตอนนี้จะใช้คลิปล็อคสำหรับทำโรงเรือนในการยึดติดด้วยกัน โดยเผื่อด้านข้างไว้ 15-20 เซนติเมตรในการกดคลิปล็อค ซึ่งเริ่มต้นจากการติดมุ้งรอบๆ โรงเรือนแต่ละด้าน ต่อมาเป็นด้านจั่วหลังคา และหลังคาเป็นส่วนสุดท้ายของการติดตั้งส่วนหุ้มโรงเรือน เพียงแค่นี้ก็เสร็จขั้นตอนของการวิธีทำโรงเรือนท่อ PVC แล้วละค่ะ
ขนาดท่อพีวีซีในการเลือกใช้งาน
ท่อพีวีซีที่ดีและมีคุณภาพ ได้รับมาตรฐาน มอก. มอก. จะต้องมีความทนทานและแข็งแรง โดยระยะการใช้งานจะต้องใช้งานได้มากถึง 60 ปีขึ้นไป มีขนาดตั้งแต่ 1⁄2 นิ้ว จนถึง 24 นิ้ว สำหรับใช้เป็นท่อน้ำดื่ม ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ มอก. 17-2532 ท่อชนิดนี้เป็นที่นิยม ใช้งานประปาสุขาภิบาล ภายในอาคาร เช่น ใช้เป็นท่อน้ำประปา หรือใช้กับปั๊มน้ำ มีการระบุมาตรฐานความดันหรือชั้นคุณภาพ ได้แก่ 5, 8.5,13.5
แต่ในลักษณะ การทำโรงเรือนนี้ เราไม่จำเป็นต้องใช้เกี่ยวกับแรงดันก็ได้ค่ะ เพราะนำมาใช้ในการสร้างโรงเรือน แต่จะเน้นไปที่ความหนา หรือความแข็งแรงเท่านั้นค่ะ
- ½” (สี่หุน) หรือ 18 มม. – เส้นผ่าศูนย์กลาง 22 มม.
- ¾” (หกหุน) หรือ 20 มม. – เส้นผ่าศูนย์กลาง 26 มม.
- 1” หรือ 25 มม. – เส้นผ่าศูนย์กลาง 34 มม.
- 1¼” หรือ 35 มม. – เส้นผ่าศูนย์กลาง 42 มม.
- 1½” หรือ 40 มม. – เส้นผ่าศูนย์กลาง 48 มม.
- 2” หรือ 55 มม. – เส้นผ่าศูนย์กลาง 60 มม.
- 2½” หรือ 65 มม. – เส้นผ่าศูนย์กลาง 76 มม.
- 3” หรือ 80 มม. – เส้นผ่าศูนย์กลาง 89 มม.
- 4” หรือ 100 มม. – เส้นผ่าศูนย์กลาง 114 มม.
- 5” หรือ 125 มม. – เส้นผ่าศูนย์กลาง 140 มม.
- 6” หรือ 150 มม. – เส้นผ่าศูนย์กลาง 165 มม.
- 8” หรือ 200 มม. – เส้นผ่าศูนย์กลาง 216 มม.
- 10” หรือ 250 มม. – เส้นผ่าศูนย์กลาง 267 มม./ 12″300 มม. เส้นผ่าศูนย์กลาง 318 มม.
นอกจากท่อพีวีซี สีฟ้าสำหรับงานระบบประปา และระบบระบายน้ำแล้ว ท่อพีวีซียังมีท่อสีอื่นๆแยกตามคุณสมบัติและการใช้งานดังนี้
- ท่อ PVC สีเหลือง เป็นท่อพีวีซีที่ผลิตขึ้นมาเพื่อให้ทนต่อความร้อน สามารถเดินท่อภายนอกอาคารได้ ท่อพีวีซีสีเหลือง มักจะถูกใช้งานประเภทท่อร้อยสายไฟ เป็นการเดินสายไฟในโรงงาน หรือในสถานที่ที่อาจมีอันตรายต่อสายไฟ จึงต้องการฉนวนห่อหุ้ม เพื่อไม่ให้เกิดสัมผัสกับสายไฟโดยตรง สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ท่อPVCสีเหลือง
- ท่อ PVC สีขาว หรือ uPVC ใช้สำหรับงานท่อร้อยสายไฟฟ้า และสายโทรศัพท์ เช่นเดียวกับท่อพีวีซีสีเหลือง แม้ขณะนี้จะยังไม่มีมาตรฐาน มอก. มารับรอง แต่ท่อก็ผลิตขึ้นตามมาตรฐานอื่น คือ มาตรฐาน JIS มีขนาด 3/8 นิ้วจนถึง 2 นิ้ว และมาตรฐาน BS (IEC) มีขนาด 3/8 นิ้วจนถึง 1-1/2 นิ้ว สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ท่อPVCสีขาว
- ท่อพีวีซี สีเทา ตามมาตรฐาน มอก. 999-2533 เป็นท่อพีวีซีแข็งใช้สำหรับงานอุตสาหกรรม ชลประทาน กำหนดชั้นคุณภาพเช่นเดียวกับท่อพีวีซีสีฟ้า สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ท่อPVCสีเทา
เป็นไงกันบ้างคะ สำหรับวิธีการทำโรงเรือนด้วยท่อ PVC ทำง่ายมากเลยใช่ไหมคะ? ที่สำคัญก่อนทำโรงเรือนด้วยท่อ PVC ควรวางแผนก่อนการออกแบบให้เหมาะกับพืชที่ปลูกด้วยนะคะ
Leave a Comment
คุณต้องเข้าสู่ระบบ เพื่อจะพิมพ์ความเห็น